การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน


การสื่อสารกับการเรียนการสอน
การเรียนรู้กับการเรียนการสอน
1. 
การเรียนรู้ (Learning) การเรียนรู้โดยทั่วไป หมายถึง ความสัมพันธ์ต่างๆ จนถึงขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืออาจหมายถึงกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้โดยทั่วไปมักเน้นผลที่เกิดจากการกระทำ
2. 
การสอน (Instruction) หมายถึง การจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการให้การศึกษาและการฝึกอบรมโดยทั่วไป ถือว่าเป็นหน้าที่ของครูสื่อสาร และวิธีสอน1. สื่อ ( Medium หรือ Media) สื่อเป็นช่องทางของการสื่อสาร (Communication) มาจากรากศัพท์ภาษาลาติน หมายถึง ระหว่าง (Between) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นพาหะนำความรู้หรือสารสนเทศ (Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสาร ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ รูปภาพ สิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์ ผู้สอนและอื่นๆ ซึ่งเมื่อใช้สิ่งเหล่านี้นำสารเพื่อการเรียนการสอน เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า
            
สื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน (Instructional Media) สื่ออาจมีหลายรูปแบบ หรือหลายลักษณะ (Format)แม้แต่สื่อประเภทเดียวกัน ก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ภาพยนตร์ มีทั้งขนาด 8 16 และ 35 มิลลิเมตร เทปคาสเสทก็เป็นสื่ออีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นสื่อเกี่ยวกับเสียง และสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อในรูปแบบของภาษา (Verbal) เป็นต้น วัสดุ (Material s ) หมายถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นชิ้นหรือเป็นอัน เมื่อนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน อาจเรียกว่า วัสดุการสอนหรือวัสดุการเรียนการสอน โสตทัศนวัสดุ (Audio visual Material s ) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์และกิจกรรมต่างๆ (หรือประสบการณ์ทางการศึกษา) ทั้งหลายที่จัดขึ้นมา เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านทางประสาทสัมผัส
              
สรุปได้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ครูและผู้เรียนนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. 
สาร (Messages) ในกิจกรรมการเรียนการสอนใดๆ ก็ตาม ย่อมมีสาร หรือเนื้อหาสาระในการสื่อสารการสอน ซึ่งสารดังกล่าวอาจจะเป็นเนื้อหาวิชา แนวทางการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คำถามเกี่ยวเรื่องที่ศึกษาคำตอบ หรือคำอธิบายรวมทั้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับสารก็คือ สื่อจะเป็นพาหะนำสาร
          
ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูหรือผู้สอนที่จะต้องเลือกสรรสื่อที่ดี ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำสารสู่ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. 
วิธีสอน วิธีสอน (Instructional Methods) โดยทั่วไป มักอธิบายในลักษณะของการนำเสนอแบบต่างๆ (Presentation Forms)เช่น การบรรยาย และการอภิปราย เป็นต้น วิธีสอนกับสื่อการสอนไม่เหมือนกัน วิธีสอนเป็นลักษณะของกระบวนการที่ใช้ในการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียน หรือเนื้อหาสาระในการเรียน ส่วนสื่อเป็นเพียงพาหะนำสารหรือเนื้อหาความรู้ (Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับ
การสื่อสารการสอนการสอน เป็นการจัดสภาพแวดล้อมและเนื้อหาความรู้ (
Information) เพื่อเกื้อหนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การส่งผ่านความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียนเป็นการสื่อสาร จากหลักการสื่อสารจะเห็นว่าการสื่อสารกับการเรียนการสอนมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก จนกล่าวได้ว่าการเรียนการสอนเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง
          
อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเฉพาะลึกซึ้งกว่าการสื่อสาร การสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการให้ข่าวสารความรู้ แต่การเรียนการสอนเป็นการสื่อสารเฉพาะที่มีการออกแบบวางแผน (Designed) ให้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ตามจุดประสงค์การเรียนการสอน การสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการพื้นฐานในการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
          
การสอนเป็นการจัดการเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การถ่ายโอนความรู้หรือสารสนเทศจากผู้สื่อไปยังผู้รับ เรียกว่าการสื่อสาร การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ ย่อมหมายถึงการได้รับความรู้ข่าวสารใหม่ๆ ด้วย ด้วยเหตุนี้การสอนจึงเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง ดังนั้น เพื่อให้สามารถใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสาร และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ตลอดจนวิธีการแก้ไข เพื่อเป็นแนวคิดใน การใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนต่อไป
1. 
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
          1) 
ผู้สื่อ (Source, Sender หรือ Encoder)
          2) 
ผู้รับ (Receiver หรือ Decoder) และ
          3) 
สาร (Messages)
2. 
กระบวนการสื่อสาร (Communication Process)
         
กระบวนการสื่อสารอาจอธิบายได้หลายรูปแบบ (Models) รูปแบบที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ SM CR Model
3. 
ปัญหาการสื่อสาร
         
ปัญหาการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านจิตวิทยา เช่น ปัญหาเกี่ยว กับผู้รับไม่สนใจ ไม่ยอมรับรู้ ผู้สื่อสารชอบใช้ภาษาพูด (Verbal ism) ส่วนปัญหาด้านกายภาพ เช่น ความไม่สะดวก และความห่างไกลจากแหล่งความรู้ก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในกระบวนการสื่อสารถ้านำสื่อต่างๆ เข้ามาใช้ก็จะสามารถลดปัญหาต่างๆ ดังกล่าวได้

ความต่อเนื่องระหว่างรูปธรรมนามธรรม
จำแนกและการบูรณาการ เป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ ดังนั้นการชี้แนะจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสอน และการสอนก็เป็นภารกิจสำคัญของครู ด้วยเหตุนี้ ครูจึงต้องเป็นบุคคลที่สามารถจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนได้อย่างเหมาะสมกับตัวผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามจุดมุ่งหมายของการสอน
          
กรวยประสบการณ์ของ เอดการ์ เดล (Edgar Dale)
การสอนโดยทั่วไปควรเริ่มจากประสบการณ์ตรง ผ่านไปยังประสบการณ์จำลอง ( เช่น รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิและภาพยนตร์ ) ไปสู่สัญลักษณ์ ซึ่งการเรียนจากสื่อต่างๆ ทั้งหลายจะมีผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การสอนควรควบคู่ไปกับการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบจำแนก - บูรณาการ ดังนั้น ประสบการณ์รูปธรรมและ / หรือกึ่งรูปธรรม จะช่วยเกื้อหนุนการเรียนรู้และจดจำได้นาน ตลอดจนช่วยให้เข้าใจสัญลักษณ์หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ดีขึ้น
วจนสัญลักษณ์ (
Verbal Symbols) Abstract
ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols) -------------------------------
การบันทึกเสียง วิทยุและภาพนิ่ง
(Recording, Radio and Iconic
Still Pictures)
ภาพยนตร์ (Motion Pictures)
โทรทัศน์ (Television) -------------------------------
นิทรรศการ (Exhibits)
การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips)
การสาธิต (Demonstrations)
ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized Experiences) En active
ประสบการณ์จำลอง (Contrived Experiences)
ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย
(Direct, Purposeful Experiences) -----------------------

นอกจากสื่อการสอนจะให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมแก่ผู้เรียน แล้วสื่อการสอนยังช่วยให้ผู้เรียนได้บูรณาการประสบการณ์เดิมทั้งหลายเข้าด้วยกันอีกด้วย ดังนั้นการจัดประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมอย่างเหมาะสมในการเรียนการสอน จึงเป็นเหตุผลหรือหลักการสำคัญในการใช้สื่อเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน

พื้นฐานทางจิตวิทยาของการเรียนรู้
 1. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist Perspective) นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม หรือนักจิตวิทยากลุ่มความรู้ความเข้าใจ เชื่อว่ามนุษย์เรียนรู้จากประสบการณ์ ประสบการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม จุดเริ่มของการเรียนรู้จะอยู่ที่การรู้จักจำแนก (Differentiation) สิ่งต่างๆ ที่ไม่เหมือนกันออกจากกัน และสามารถจัดไว้เป็นกลุ่มหรือพวก ประสบการณ์ในการรู้จำแนกจะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิด (Concept) ในเรื่องนั้นๆ กระบวนการขั้นต่อไปก็คือ การนำแนวคิดเหล่านั้นมาบูรณาการ (Integration) เข้าด้วยกัน เกิดการเรียนรู้ขึ้นเป็นหลักการ และทฤษฎีต่างๆ ซึ่งเป็นความรู้ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นนามธรรมและสามารถเชื่อมโยงความรู้ที่ได้นี้ไปเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในสิ่งอื่นๆ ต่อไป
          Schemata (Schema)
          Assimilation
          Accommodation
2. 
การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist Perspective) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม เชื่อว่าการเรียนรู้คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
          1. 
แรงขับ (Drive) หมายถึง ความต้องการของผู้เรียน ซึ่งจะจูงใจผู้เรียนให้หาทางสนองตอบต่อความต้องการของตนเอง
          2. 
สิ่งเร้า (Stimulu s) สิ่งเร้าอาจเป็นความรู้หรือการชี้แนะจากครูหรือจากแหล่งการเรียน (สื่อ) ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบสนอง
          3. 
การตอบสนอง (Response) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่สังเกตได้จากพฤติ กรรมของผู้เรียนที่แสดงออกมา
          4. 
การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้รางวัลเมื่อผู้เรียนตอบสนองได้ถูกต้อง
               สื่อการสอนเปรียบเสมือนสิ่งเร้าเพื่อการเรียนรู้ ตัวอย่างสื่อการสอนที่ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้นี้ได้แก่ บทเรียนโปรแกรม ชุดการสอนและนวกรรมการสอนประเภทต่างๆ
3. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มสร้างสรรค์ความรู้ ( Constructivist Perspective ) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อเนื่องจากกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist) ที่เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการสร้างสรรค์ของผู้เรียน ด้วยการนำความรู้เดิม (ประสบการณ์) มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์อย่างมีเหตุผล แล้วประมวลเป็นความรู้ใหม่เพื่อนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาต่อไป ทั้งนี้ผู้เรียนจะเป็นผู้สร้างสรรค์ด้วยการแปลความหมาย (Interpretation) ข้อมูลและสารสนเทศที่มีอยู่รอบๆ ตัวด้วยตนเองดังนั้น จุดประสงค์การเรียนการสอนจึงไม่ใช่การสอนความรู้ แต่เป็นการสร้างสรรค์สถานการณ์ต่างๆ ที่ผู้เรียนสามารถแปลความหมายของข้อความรู้ต่างๆ เพื่อความเข้าใจด้วยตัวของผู้เรียนเองดังนั้น การเรียนการสอนตามความเชื่อของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ก็คือ การชี้แนะแนวทางการเรียนเพื่อเกิดการเรียนรู้ตามความสามารถของผู้เรียน การวัด และประเมินผลการเรียนจะอยู่บนพื้นฐานของความสามารถของผู้เรียนในการใช้ความรู้เพื่อเกื้อหนุนการคิดในการดำรงชีวิตจริง
4. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มจิตวิทยาสังคม ( Social-Psychological Perspective ) จิตวิทยาสังคมเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่รู้จักกันมานานในการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอน นักจิตวิทยาสังคมเชื่อว่า ลักษณะกลุ่มสังคมในห้องเรียนมีผลต่อการเรียนรู้ เช่น การเรียนแบบอิสระ การเรียนเป็นกลุ่มเล็ก หรือการเรียนรวมทั้งชั้น บทบาทสำคัญของการเรียนจะอยู่ที่ว่า ผู้เรียนสามารถควบคุมกิจกรรมการเรียนได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) มีผลดีกว่าการเรียนแบบแข่งขัน (Competitive Learning

เทคโนโลยีเพื่อการเรียน
เทคโนโลยี (Technology) คำว่า เทคโนโลยี อาจให้ความหมายได้ 3 ทัศนะ ดังนี้
           1) 
เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นกระบวนการ (Technology as a P recess) หมายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้อื่นๆ ในการปฏิบัติภารกิจอย่างมีระบบ
          2) 
เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นผลผลิต (Technology as P redact) หมายถึง เครื่องมือ (Hardware) และวัสดุ (Software) อันเป็นผลมาจากการประยุกต์ใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี ฟิล์มภาพยนตร์เป็นวัสดุ เครื่องฉายภาพยนตร์เป็นเครื่องมือ และต่างก็เป็นผลผลิตของเทคโนโลยี
          3) 
เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นทั้งกระบวนการและผลิตผล (Technology as a Mix of Process and Product) เป็นการกล่าวถึง เทคโนโลยีในแง่ (1) การใช้วิธีการ และเครื่องมือหรือวัสดุร่วมกันในเวลาเดียวกัน (2) การใช้เครื่องมือและวิธีการแยกจากกันในเวลาเดียวกัน เช่น เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กับวัสดุ (Software หรือ Program) อย่างสัมพันธ์กัน

          
การนำสื่อโสตทัศน์ทั้งหลายมาใช้ในการปรับปรุงการสื่อสารและการเรียนการสอน ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์การเรียนการสอน ซึ่งเป็นผลิตผลของเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนมีความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งไปกว่าการสื่อสาร เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นวิธีการหรือกระบวนการ (Technology as a P recess) จึงเป็นสิ่งสำคัญในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่างๆ ทางการสอนในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

          
เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และแขนงวิชาอื่นๆ มาใช้ในการปฏิบัติภารกิจ ดังนั้น เทคโนโลยีการสอน จึงหมายถึง
การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และแขนงวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น เทคโนโลยีการสอน จึงเป็นการออกแบบระบบการเรียนการสอนเพื่อให้สามารถจัดความรู้ ทักษะ และเจตคติหรือการเรียนรู้ทั้งหลายให้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          
เทคโนโลยีการสอนได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอนและก่อให้เกิดวิธีหรือแนวปฏิบัติใหม่ๆ หรือที่เรียกว่า นวกรรมการสอนขึ้นมาหลายรูปแบบ เช่น การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer - Based Instruction : CB) การสอนโดยใช้ระบบเสียง (Audio-tutorial Systems) การสอนแบบโมดุล (Modular Instruction) เกมและสถานการณ์จำลอง (Game and Simulation) เป็นต้น เทคโนโลยีการสอนบางลักษณะจึงเป็นการใช้สื่อโสตทัศน์และหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งสิ่งพิมพ์ต่างๆ ร่วมกันในลักษณะของสื่อประสม (Miltie media) แต่เทคโนโลยีการสอนจะมีลักษณะเฉพาะ ที่แตกต่างไปจากการใช้สื่อการเรียนการสอนแบบธรรมดา กล่าวคือ เทคโนโลยีการสอน จะเน้นผู้เรียนและกระบวนการเรียนการสอน และยึดหลักการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสำคัญ

          
บทเรียนโปรแกรมเป็นตัวอย่างที่ดีของเทคโนโลยีการสอน บทเรียนโปรแกรมยึดหลักการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเฉพาะทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ซึ่งสกินเนอร์ (B. F. Skinner) ได้พัฒนาบทเรียนโปรแกรมขึ้นมา โดยจัดบทเรียนเป็นขั้นตอนสั้นๆ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับทุกขั้นตอนการเรียนและได้รับการเสริมแรง เมื่อตอบสนองถูกต้อง การเสริมแรงและข้อมูลย้อนกลับเป็นผลแห่งความรู้ (Knowledge of Results) หรือเกิดการเรียนรู้ขึ้นมาในตัวผู้เรียนนั่นเอง ดังนั้น การสอนโดยใช้บทเรียนโปรแกรมหรือการสอนแบบโปรแกรม จึงเป็นกระบวนการที่ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียน (Active Process) ไม่ใช่ผู้เรียนรอรับความรู้แต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งต่างจากการสื่อสาร การสื่อสารเป็นเพียงบันไดขั้นแรกของการเรียนรู้เท่านั้น
          
อาจจะกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีการสอนได้พัฒนามาจากทฤษฎีการเสริมแรง ซึ่งทฤษฎีการเสริมแรงนี้ จัดว่าเป็นทฤษฎีพื้นฐานที่ก่อให้เกิดเทคโนโลยีการสอนขึ้นมาหลายรูปแบบ อย่างไรก็ตามทฤษฎีอื่นๆ เช่นกลุ่มสัมพันธ์ จิตวิทยากลุ่มความรู้นิยม ทฤษฎีสารสนเทศ (Information Theory) และจิตวิทยาพัฒนาการ ต่างก็มีความสำคัญในการเกื้อหนุนให้เทคโนโลยีการสอนพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง
บทบาทของสื่อในการเรียนการสอน

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า สื่อและเทคโนโลยีการสอน สนับสนุนยุทธวิธีเบื้องต้นของการเรียนการสอนได้หลายประการ ที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ใช้สื่อ/เทคโนโลยีช่วยการสอนของครู การใช้สื่อลักษณะนี้เป็นวิธีที่เรารู้จักและคุ้นเคยมากที่สุด โดยครูนำสื่อมาใช้เพื่อช่วยการสอน การใช้สื่อในลักษณะนี้จะช่วยให้การสอนสัมฤทธิ์ผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความสามารถของครู ดังนั้น ถ้าครูจะนำสื่อมาใช้ช่วยในการสอน ครูจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับหลักสูตร ระบบการสอนและเทคนิคต่างๆ ในการใช้สื่อ รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2. สื่อช่วยผู้เรียนฝึกทักษะและการปฏิบัติได้ เป็นการจัดสื่อไว้ในลักษณะห้องปฏิบัติการ โดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้ภายใต้การชี้แนะของครู เช่น การใช้ห้องปฏิบัติการทางภาษา การเรียนจากบทเรียนโปรแกรม ตลอดจนการฝึกปฏิบัติอื่นๆ และการทำแบบฝึกหัดหรือการค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นต้น
3. ช่วยการเรียนแบบค้นพบ สื่อการสอนสามารถช่วยการจัดการเรียนการสอนแบบค้นพบหรือการสอนแบบสืบเสาะ (Inquiry Approach) ได้เป็นอย่างดี เช่น การใช้วิดีโอช่วยสอนวิทยา ศาสตร์กายภาพ เพื่อให้ผู้เรียนเฝ้าสังเกตภาพและเนื้อหา จนสามารถค้นพบข้อสรุปหรือหลักการต่างๆ ได้
4. สื่อช่วยจัดการเกี่ยวกับการสอน สื่อการเรียนการสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนกับผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์หรือมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ดังนั้น สื่อและเทคโนโลยี จึงทำให้บทบาทของครูเปลี่ยนไปจากการเป็นผู้บอกความรู้ มาเป็นผู้จัดการและร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนทำให้สามารถ จัดรูปแบบการเรียนการสอนขึ้นมาหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียน ปัญหาและสื่อต่างๆ ที่จัดขึ้นมาเพื่อการเรียนการสอนนั้นๆ เช่น 1) การสอนแบบเอกัตบุคคล 2) การสอนแบบกลุ่มเล็ก 3) การสอนแบบกลุ่มใหญ่ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบใด ครูก็สามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีเข้าช่วยในการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นครูยังสามารถกำหนดเวลาและกิจกรรมการเรียนได้อย่างเหมาะสม ตามลักษณะของสื่อที่นำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นๆ
5. สื่อ/เทคโนโลยีในการสอนแบบเอกัตบุคคล การสอนแบบเอกัตบุคคลเป็นวิธีสอนที่กำลังได้รับความสนใจกันมากในปัจจุบัน การสอนแบบนี้มุ่งให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นรายบุคคลภายใต้คำแนะนำหรือการชี้แนะของครู โดยอาศัยระบบสื่อที่จัดขึ้นไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามจุดมุ่งหมายของการสอน
6. ช่วยการศึกษาพิเศษ สื่อการสอนสามารถจัดขึ้นมาเพื่อช่วยให้การศึกษาแก่คนพิการได้เป็นอย่างดี เรียกว่าสื่อช่วยในการจัดการศึกษาพิเศษได้
7. สื่อการสอนกับการศึกษานอกระบบ จากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความรู้ทางวิชาการ สื่อการสอนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการให้การศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในหรือ นอกห้องเรียน ตลอดจนการศึกษาแบบทาง

ระบบ           
         ระบบ คือหน่วยรวมของสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์ออกแบบสร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างมีระเบียบและสัมพันธ์กันอย่างมีเหตุผล เพื่อให้การดำเนินงานนั้นบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จากนิยามดังกล่าวระบบจึงมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ 1) จุดมุ่งหมาย 2)กระบวนการ และ 3) ส่วนประกอบต่างๆ เมื่อวิเคราะห์ระบบจะพบว่า ระบบมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1) สิ่งที่ป้อนเข้าสู่ระบบ หรือข้อมูล (Input) 2) กระบวนการหรือวิธีการ (Process) และ 3) ผลที่ได้ (Output)
         
แนวคิดเรื่องระบบนี้ นำมาใช้ครั้งแรกในวงการอุตสาหกรรม และการทหารก่อน ต่อมาจึงมีผู้นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเรียกว่า ระบบการสอน (Instructional System) จุดมุ่งหมายสำคัญของระบบการสอนก็คือการนำวิธีระบบมาใช้ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการออกแบบ หรือวางแผนการสอนอย่างมีระบบนั่นเอง
องค์ประกอบหลักในการออกแบบการสอน
           
การออกแบบการสอน เป็นการวางแผนการสอนอย่างมีระบบ จุดเริ่มของการออกแบบการ สอน ก็คือ การคิดพิจารณาองค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบและพิจารณาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนการสอน ดังนั้น การออกแบบระบบการสอนจึงต้องพิจารณาเรื่องต่างๆ ด้วยการตอบคำถามสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
          1. 
โปรแกรมการสอนนี้จะออกแบบสำหรับใคร (คำตอบก็คือผู้เรียน ดังนั้น ขั้นแรกจึงต้องศึกษา คุณลักษณะของผู้เรียน)
          2. 
ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้อะไร หรือ มีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง (คำตอบก็คือ จุดมุ่งหมายการเรียน)
          3. 
เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่างๆ ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายการเรียนนั้น ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไร (คำตอบก็คือ ต้องคิดหาวิธีสอน สื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน ฯลฯ)
          4. 
จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ หรือเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด (คำตอบก็คือ ต้องคิดหาวิธีประเมินการเรียนและการสอน)
          
กล่าวโดยสรุป คำตอบทั้ง 4 ประการข้างต้น ก็คือ องค์ประกอบเบื้องต้นในการพัฒนาหรือการวางแผนการเรียนการสอน องค์ประกอบทั้ง 4 ประการนี้ มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ออกแบบระบบการเรียนการสอน จะต้องพิจารณาองค์ประกอบเบื้องต้นทั้ง 4 ประการนี้อย่างรวมๆ ร่วมกันทั้งหมดก่อนที่จะออกแบบระบบการสอน
           การออกแบบระบบการสอนจากองค์ประกอบหลักทั้ง 4 ประการดังกล่าวมาแล้วนั้น เมื่อนำมาวิเคราะห์ในการออกแบบการสอน จะได้ขั้นตอนต่างๆ ที่สำคัญ 10 ประการ คือ
 1. 
สำรวจหรือศึกษาความต้องการการเรียนรู้ (Learning Needs) เพื่อออกแบบโปรแกรมการเรียนการสอน กำหนดวัตถุประสงค์ (Goals) การพิจารณาความจำเป็นบังคับและความจำเป็นก่อนหลัง
          2. 
เลือกเรื่องและ/หรือภารกิจต่างๆ ที่ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้ และกำหนดความมุ่งหมายทั่วไป
          3. 
ศึกษาคุณลักษณะผู้เรียน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
          4. 
วิเคราะห์เนื้อหาและหรือภารกิจที่จะสอนให้ละเอียด
          5. 
กำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนตามลักษณะเนื้อหาและองค์ประกอบของภารกิจ
          6. 
กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะทำให้การเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมาย
          7. 
เลือกทรัพยากรการเรียนการสอนต่างๆ (Instructional Resources) ที่จะช่วยให้กิจกรรม การเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
          8. 
บริการสนับสนุนการพัฒนาระบบการเรียนการสอน และส่งเสริมกิจกรรมการเรียนการ สอน ที่กำหนดไว้ ทั้งนี้รวมไปถึงเรื่องการผลิตสื่อ และวัสดุการเรียนการสอนด้วย
          9. 
ประเมินการเรียน (Learning Evaluation) และผลที่ได้จากโปรแกรมการเรียนการสอน
          10. 
ทดสอบก่อนเรียน วางแผนการทดสอบก่อนเรียนในกรณีที่จำเป็นต้องทดสอบให้สอดคล้องกับหัวเรื่อง และภารกิจที่จะต้องศึกษา
การออกแบบระบบการเรียนการสอนอาจสรุปเป็นขั้นตอนได้ 5 ขั้น ที่เรียกว่า ADDIE คือ (ไชยยศ เรืองสุวรรณ . 2531)
1. การวิเคราะห์ (Analyze)
 2. 
การออกแบบ (Design)
3. 
การพัฒนา (Develop)
4. 
การนำไปใช้/ทดลองใช้ (Implement/Tryout)
5. 
การประเมินและแก้ไข (Evaluate/Revise)
          ในต่างประเทศ คำว่า การออกแบบระบบการสอน (Instructional Systems Design) เรียกกันไปต่างๆ กัน เช่น Instructional Design, Instructional Systems, Instructional Systems Development, Learning Systems Design, Competency-based Instruction, Criterion referenced Instruction, Performance Technology แต่คำเหล่านี้ต่างก็มีความหมายคล้ายคลึงกัน
หน่วยที่ 3ระบบการวางแผนการใช้สื่อการสอน
การออกแบบระบบการเรียนการสอนอาจสรุปเป็นขั้นตอนได้
 5 ขั้น ที่เรียกว่า ADDIE คือ (ไชยยศ เรืองสุวรรณ . 2531) 
1.
 การวิเคราะห์ (Analyze) 
 2.
 การออกแบบ (Design) 
3.
 การพัฒนา (Develop) 
4.
 การนำไปใช้/ทดลองใช้ (Implement/Tryout) 
5.
 การประเมินและแก้ไข (Evaluate/Revise) 
       ในต่างประเทศ คำว่า การออกแบบระบบการสอน (Instructional Systems Design) เรียกกันไปต่างๆ กัน เช่น Instructional Design, Instructional Systems, Instructional Systems Development, Learning Systems Design, Competency-based Instruction, Criterion referenced Instruction, Performance Technology แต่คำเหล่านี้ต่างก็มีความหมายคล้ายคลึงกัน
         
การวางแผนการใช้สื่อการสอนอย่างมีระบบและสอดคล้องกับระบบการสอนที่ออกแบบไว้ โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบสำคัญ คือ 
          1)
 การเลือก 
          2)
 การเตรียม 
          3)
 การนำเสนอ
          4)
 การติดตามผล 
มีผู้ขยายความให้เห็นรายละเอียด จำแนกได้เป็น 6 ขั้น คือ 
          1)
 การวิเคราะห์ผู้เรียน (Analyze Learners) 
          2)
 การกำหนดจุดประสงค์ (State Objectives) 
          3)
 การเลือกวิธีสอน สื่อและวัสดุ (Select Methods, Media, and Materials) 
          4)
 การใช้สื่อและวัสดุ (Utilize Media and Materials) 
          5)
 การกำหนดการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Require Learner Participation) 
          6)
 การประเมิน และการแก้ไข (Evaluate and Revise )
1.
 การวิเคราะห์ผู้เรียน
          
ขั้นแรกในระบบการวางแผนการใช้สื่อการสอนอย่างมีระบบคือ การวิเคราะห์ผู้เรียน ซึ่งจะต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับเนื้อหา และวิธีสอน และสำรวจความพร้อมของผู้เรียนว่า มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ มากน้อยเพียงใด
2.
 การกำหนดจุดประสงค์การเรียน
          
การกำหนดจุดประสงค์การเรียน ต้องคำนึงถึงลักษณะของจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนที่ดี ซึ่งจะมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 3ประการ คือ 1) วิธีการปฏิบัติ (Performance) 2) เงื่อนไข (Condition) และ 3) เกณฑ์ (Criteria) 
 
ประเภทของจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายจำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ 
1.
 การเรียนรู้ทางพุทธิพิสัย (Cognitive Learning) เป็นจุดมุ่งหมายที่เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างทางปัญญาเพื่อรับความรู้ ข้อมูลและข่าวสาร ซึ่งเรียงลำดับตั้งแต่การจำสิ่งง่ายๆ การคิดคำนึงไปจนถึงการสร้างความสัมพันธ์กับความรู้ใหม่ 
2.
 การเรียนรู้ทางจิตพิสัย (Affective Learning) เป็นจุดมุ่งหมายที่เกี่ยวกับความรู้สึก และ อารมณ์ ซึ่งเรียงลำดับตั้งแต่การตื่นตัวกับคุณค่าหรือค่านิยมบางอย่าง ไปจนถึงการมีอารมณ์ความรู้สึกและการรวมเอารูปแบบของพฤติกรรมต่างๆ เข้าด้วยกัน ที่เรียกว่า คุณลักษณะ (Character) 
3.
 การเรียนรู้ทางทักษะพิสัย (Psychomotor Learning) เป็นจุดมุ่งหมายที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ หรือการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งเรียงลำดับตั้งแต่การเคลื่อนไหวง่ายๆ ของร่างกายไปจนถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของอวัยวะต่างๆ 
การจำแนกการเรียนรู้
 การศึกษาเกี่ยวกับการจัดระดับต่างๆ ของการเรียนรู้ เป็นสิ่งที่จะช่วยในการตัดสินใจว่า การกำหนดจุดมุ่งหมายครอบคลุมเนื้อหาหรือไม่ และการสอนเป็นไปตามลำดับขั้นตอนเพียงใด เพื่อให้การสอนเริ่มจากสิ่งที่ง่าย หรือระดับต่ำไปหาสิ่งที่ยากหรือระดับสูง ระดับการเรียนรู้ทางพุทธิพิสัย ระดับการเรียนรู้ประเภทนี้ เริ่มจากสิ่งที่ง่ายไปยังสิ่งที่ยาก ดังนี้
        
  1. ความรู้ (Knowledge) ได้แก่ การระลึกได้ การจดจำคำนิยาม การสังเกตและการคิดทบทวน
          2.
 ความเข้าใจ (Comprehension) ได้แก่ การแปลความหมาย การตีความการเรียบเรียง การสรุป การพยากรณ์จากข้อมูลที่มีอยู่
          3.
 การนำไปใช้ (Application) ได้แก่ การใช้ความคิดและความรู้ต่างๆ
          4.
 การสร้างสรรค์ (Creation) ได้แก่ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และการประเมินข้อมูลที่ได้รับมา จนเกิดความคิดสร้างสรรค์ 
ระดับการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย
 การเรียนรู้ด้านนี้ แบ่งตามความเปลี่ยนแปลงความรู้สึกภายใน เช่น เจตคติ ค่านิยมและอื่นๆ ของแต่ละบุคคล การเรียนรู้ด้านจิตพิสัยแบ่งออกได้ดังนี้
         
 1. การรับ เป็นการตื่นตัวและยินดี ตลอดจนมีความสนใจต่อสิ่งเร้าต่างๆ
          2.
 การตอบสนอง หมายถึง การมีส่วนร่วมและตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น
          3.
 การเห็นคุณค่า เป็นการแสดงออกถึงเจตคติและความสนใจด้วยตนเอง
          4.
 การบอกคุณลักษณะ (Characterization) เป็นการแสดงออก ถึงวิถีการดำรงชีวิตอันขึ้นอยู่กับค่านิยมและระบบค่านิยมของสังคม 
            ระดับการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย การเรียนรู้ด้านทักษะนี้ พิจารณาจากความสัมพันธ์ในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งแบ่งออกได้ ดังนี้ 1) การเลียนแบบ 2) การกระทำด้วยตนเอง 4) ความถูกต้อง การกระทำที่ถูกต้อง และ 5) การแสดงออกเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติจากการรวมทักษะหลายๆ ด้านอย่างมีประสิทธิภาพ
3.
 การเลือกวิธีสอน สื่อ และวัสดุ
          
การพิจารณาเลือกวิธีสอน หรือวิธีการจัดการเรียนการสอน จะทำให้สามารถจัดหาสื่อมาเพื่อใช้ประกอบการสอนได้เหมาะสม ด้วยการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ประการ คือ 1) เลือกใช้สื่อที่มีอยู่แล้ว 2) ดัดแปลงจากวัสดุที่มีอยู่แล้ว และ 3) ออกแบบผลิตสื่อใหม่
4.
 การใช้สื่อและวัสดุ
          
การใช้หรือนำเสนอสื่อ มีสิ่งที่ต้องพิจารณาอยู่ 4 ประการ 
1)
 การเตรียมสื่อและการทดลองใช้ 
2) การเตรียมสภาพแวดล้อม 
3)
 การเตรียมผู้เรียน และ 
4)
 การนำเสนอสื่อการสอน
5.
 การกำหนดการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
          
ปัจจุบันสื่อการสอนประเภทสื่อประสม เช่น ชุดการเรียน บทเรียนคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสอนอื่นๆ ได้มีการออกแบบโดยรวมกิจกรรมการเรียนที่เน้นการตอบสนอง การสร้างแรงจูงใจ ความสนใจ และการเสริมแรงเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมาย จึงต้องมีการกำหนดการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
6.
 การประเมินและการแก้ไข
          
การประเมิน จะพิจารณา 3 ด้าน คือ การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การประเมินสื่อและวิธีใช้ และการประเมินกระบวนการเรียนการสอน การประเมินไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการเรียนการสอน หากแต่เป็นจุดเริ่มต้นที่ต่อเนื่องกันไปตลอดกระบวนการ ในการใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างมีระบบ ด้วยการปรับปรุงแก้ไขให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
สรุป
          
ในหน่วยการเรียนที่ 1 นี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีพื้นฐานสำคัญที่เกี่ยวกับสื่อ ในระบบการเรียนการสอน ตลอดจนนิยามคำศัพท์สำคัญที่นิสิตต้องพบเห็นอยู่บ่อยๆ ในระบบการศึกษา และการเรียนการสอน ซึ่งในหน่วยนี้ประกอบด้วยเนื้อหาสาระ 3 หัวข้อย่อย ได้แก่ 1) สื่อกับการเรียนการสอน 2) ระบบการสอน และ 3) การวางแผนระบบการใช้สื่อการสอน 
1.
 สื่อกับการเรียนการสอน ในหัวข้อแรกกล่าวถึง การเรียนรู้กับการสอน สื่อ สารและวิธีการ การสื่อสารการสอนความต่อเนื่องระหว่างรูปธรรมนามธรรม พื้นฐานทางจิตวิทยาของการเรียนรู้ สื่อการสอนกับปรัชญาการศึกษา บทบาทของสื่อในการสอน มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
          1.1
 การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยทั่วไปมักเน้นที่ผลอันเกิดจากการกระทำ การสอน เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
          1.2
 สื่อเป็นช่องทางของการสื่อสาร (Communication) รากศัพท์แปลว่า ระหว่าง (Between) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นพาหะนำความรู้หรือสารสนเทศ (Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสาร ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ รูปภาพ สิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์ ผู้สอนและอื่นๆ
                    
สาร ได้แก่เนื้อหาสาระในการสื่อสารการสอน ซึ่งสารดังกล่าว อาจจะเป็นเนื้อหาวิชา แนวทางการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คำถามเกี่ยวเรื่องที่ศึกษา คำตอบหรือคำอธิบายรวมทั้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
                    
วิธีสอน (Instructional Methods) โดยทั่วไป มักอธิบายในลักษณะของการนำเสนอแบบต่างๆ (Presentation Forms)
          1.3
 การสื่อสารการสอน การเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเฉพาะลึกซึ้งกว่าการสื่อสาร การสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการให้ข่าวสารความรู้ แต่การเรียนการสอนเป็นการสื่อสารเฉพาะที่มีการออกแบบวางแผน (Designed) ให้เพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์ต่างๆ ตามจุดประสงค์การเรียนการสอน การสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการพื้นฐานในการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
          1.4
 ความต่อเนื่องระหว่างรูปธรรมนามธรรม การสอนโดยทั่วไปควรเริ่มจากประสบ การณ์ตรง ผ่านไปยังประสบการณ์จำลอง ( เช่น รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิและภาพยนตร์ ) ไปสู่สัญลักษณ์ ซึ่งการเรียนจากสื่อต่างๆ ทั้งหลายจะมีผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การสอนควรควบคู่ไปกับการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบจำแนก - บูรณาการ ดังนั้น ประสบการณ์รูปธรรมและ / หรือกึ่งรูปธรรม จะช่วยเกื้อหนุนการเรียนรู้และจดจำ ได้นาน ตลอดจนช่วยให้เข้าใจสัญลักษณ์หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ดีขึ้น
          1.5
 พื้นฐานทางจิตวิทยาของการเรียนรู้
                    1.5.1
 การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist Perspective) เชื่อว่ามนุษย์เรียนรู้จากประสบการณ์ ประสบการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม จุดเริ่มของการเรียนรู้จะอยู่ที่การรู้จักจำแนก (Differentiation) สิ่งต่างๆ ที่ไม่เหมือนกันออกจากกัน และสามารถจัดไว้เป็นกลุ่มหรือพวก ประสบการณ์ในการจำแนกจะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิด (Concepts) ในเรื่องนั้นๆ กระบวนการขั้นต่อมาก็คือ การนำแนวคิดเหล่านั้นมาบูรณาการ (Integration) เข้าด้วยกัน เกิดการเรียนรู้ขึ้นเป็นหลักการ และทฤษฎีต่างๆ
                              Schemata (Schema)
                              Assimilation
                              Accommodation
                    1.5.2
 การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist Perspective) เชื่อว่าการเรียนรู้คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ 1) แรงขับ (Drive) 2) สิ่งเร้า (Stimulu s) 3) การตอบสนอง (Response) และ 4) การเสริมแรง (Reinforcement)
                    1.5.3 การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มสร้างสรรค์ ( Constructivist Perspective )
                    1.5.4
 การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มจิตวิทยาสังคม ( Social-Psychological Perspective )
          1.6
 สื่อการเรียนการสอนกับปรัชญาการศึกษา
          1.7
 เทคโนโลยีเพื่อการเรียน
          1.8
 บทบาทของสื่อในการสอน
2.
 ระบบการสอน
          1.
 ระบบ 
          2.
 องค์ประกอบหลักในการออกแบบระบบการสอน
          3.
 การออกแบบระบบการสอน
3.
 การวางแผนระบบการใช้สื่อการสอน ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ผู้เรียน (Analyze Learner s ) 2) การกำหนดจุดประสงค์ (State Objectives) 3) การเลือกวิธีสอน สื่อและวัสดุ (Select Methods, Media, and Materials) 4) การใช้สื่อและวัสดุ (Utilize Media and Materials) 5) การกำหนดการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Require Learner Participation ) และ 6) การประเมินและการแก้ไข (Evaluate and Revise )